วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ทำเนียบขาว (ประวัติต่อเติม)
เมื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ได้ย้ายมายังบ้านหลังนี้ในปี 1801 เขากับสถาปนิก เบนจามิน เฮนรี่ แลทโรบ (Benjamin Henry Latrobe) ได้ขยายพื้นที่อาคารออกไป โดยการสร้าง แนวเสาระเบียงสองด้านอันมีความหมายถึงการปกปิดความมั่นคงและการเก็บรักษา
ในปี 1814 ระหว่างช่วงสงครามแห่งปี 1812 คฤหาสน์หลังนี้ถูกกลุ่มทหารชาวอังกฤษเผา ทำให้กำแพงภายในและภายนอกไหม้เกรียมอย่างมาก หลังจากนั้นจึงได้มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เกือบทันที ประธานาธิบดีเจมส์ มอนโรได้ย้ายเข้ามาสู่บ้านที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ในเดือนตุลาคม ปี 1817 การก่อสร้างได้ดำเนินการต่อและได้เพิ่มเติมระเบียงทางทิศใต้ (South Portico) ในปี 1824 และทางทิศเหนือ (North Portico)
ในปี 1829 เนื่องจากว่ามีคนจำนวนมากในตัวคฤหาสน์ ประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์จึงได้ย้ายห้องทำงานเกือบทั้งหมดไปยังปีกตะวันตกในปี 1901 จากนั้น 8 ปีต่อมา ประธานาธิบดีวิลเลียม เอช. ทัฟต์ จึงได้ขยายส่วนที่เป็นปีกตะวันตก และได้สร้างห้องทำงานรูปไข่ห้องแรกขึ้น ห้องใต้หลังคาชั้น 3 เปลี่ยนเป็นที่ที่สามารถอยู่อาศัยได้ในปี 1927 หลังจากได้เพิ่มหลังคาที่ทันสมัยและหน้าต่างที่รับแสง มีการปรับปรุงปีกตะวันออกครั้งใหม่เพื่อใช้เป็นห้องรับรองและสำหรับงานสังคมต่างๆ ทั้งสองปีกนั้นจะเชื่อมเข้าหากันโดยแนวระเบียงเจฟเฟอร์สัน ปีกตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงเสร็จเรียบร้อยในปี 1946 และได้มีการสร้างพื้นที่ห้องทำงานเพิ่มอีกด้วย
ต่อมา ในปี 1948 คานรับน้ำหนักที่ทำด้วยไม้ของกำแพงภายในและภายนอกบ้านนั้นดูเหมือนจะรับน้ำหนักไม่ไหว ห้องที่อยู่ภายในจึงได้ถูกรื้อออกโดยสมบูรณ์ เป็นผลให้ภายในบ้านนั้นมีเหล็กกล้าเป็นโครงสร้างหลัก และได้ต่อเติมบ้าน บูรณะห้องต่างๆในบ้านขึ้นมาใหม่
ทุกวันนี้ ได้มีการรวมไปที่พักอาศัย และปีกตะวันตก-ตะวันออกเข้าด้วยกันเรียกว่า ศูนย์รวมทำเนียบขาว (The White House Complex) ทำเนียบขาวนั้นมีด้วยกัน 6 ชั้นได้แก่ ชั้นหนึ่ง ชั้นลอย ชั้นสอง ชั้นสาม และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย NW ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในฐานะที่เป็นที่ทำงานสำคัญของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อของ "ทำเนียบขาว" จึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี ซึ่งนับเป็นทรัพย์สินของอุทยานแห่งชาติและเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประธานาธิบดี
นอกจากนี้ ภาพของทำเนียบขาวยังถูกนำไปใช้ในด้านหลังของธนบัตรใบละ 20 ดอลลาร์สหรัฐ อีกด้วย
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
น้ำตกไนแองการ่า
น้ำตกไนแอการา (อังกฤษ: Niagara Falls ; ฝรั่งเศส: les Chutes du Niagara) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก
น้ำตกไนแองการามีจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของทั้ง 2 ประเทศมานานกว่าศตวรรษ
แม่น้ำไนแอการาไหลมาจากทะเลสาบอีรีไหลผ่านน้ำตกไนแอการาลงสู่ทะเลสาบออนตาริโอ เมืองสองฝั่งของน้ำตกในสองประเทศนั้นเป็นเมืองแฝด โดยในฝั่งแคนาดาคือ ไนแอการาฟอลส์ ออนตาริโอ ส่วนในฝั่งสหรัฐอเมริกาคือ ไนแอการาฟอลส์ รัฐนิวยอร์ก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)